การช่วยเหลือ ฟื้นฟูและเสริมความเข้มแข็งกลุ่มชุมชนเปราะบางในสถานการณ์วิกฤติโรคระบาด Covid-19
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ส่งผลกระทบอย่างยิ่งกับคนจน กลุ่มเปราะบางในสังคมไทย เช่น กลุ่มคนไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธุ์และชนพื้นเมือง กลุ่มคนจนเมือง คนเร่ร่อน แรงงานนอกระบบ เกษตรกรรายย่อย โดยเฉพาะคนจนที่ไร้ที่ไร้ทีดินหรือมีที่ดินไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต หรือไม่มีความมั่นคงในที่ดินที่ทำกินของตนเอง ฯลฯ
ประเทศไทยประกอบด้วยกลุ่มชนที่หลากหลายชาติพันธุ์ อยู่อาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน เป็นพหุวัฒนธรรมและพัฒนาจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้น จึงไม่ได้มีแต่คนที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมาย เท่านั้น ที่อยู่ร่วมในสังคมอันหลากหลาย แต่ยังมีกลุ่มคนที่ไม่มีสัญชาติ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ อยู่ร่วมกันในสังคมมายาวนาน
ประชากรกลุ่มผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยเกิดและอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานาน คือ กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ที่ถือว่าเป็นคนไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาสถานะทางกฎหมาย ซึ่งกรมการปกครองระบุว่า มีจำนวน 796,402 คน การไม่มีสัญชาติไทย หรือขาดสถานะทางกฎหมายที่ชัดเจน ย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ของบุคคลกลุ่มนี้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการเข้าถึงการจัดบริการทางสังคมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ทั้งเรื่องกองทุนการศึกษาสาธารณสุข สิทธิผู้สูงวัย สิทธิผู้พิการ การประกันสังคม การคุ้มครองการทำงาน เข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรมกรณีถูกคุกคาม ถูกเอาเปรียบรีดไถ ไม่สามารถจดทะเบียนสมรส/ ทะเบียนครอบครองอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการพัฒนาสถานะทางกฎหมาย ฯลฯ ทำให้ขาดหลักประกันต่อความมั่นคงในชีวิต และเกิดความไม่เท่าเทียมในสุขภาวะ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ ระบุว่า ความรู้สึกการถูกเลือกปฏิบัติ ถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ จะกระทบต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคม ขณะที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระบุเรื่อง “กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย” ขาดสิทธิในสถานะบุคคลทางกฎหมาย ทำให้เสียสิทธิและไม่สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ ส่งผลให้เกิดปัญหาอคติทางชาติพันธุ์ในสังคม
- เพื่อให้กลไกในชุมชน ( กรรมการ /คณะทำงาน ) ช่วยกันสำรวจข้อมูลกลุ่มคนเปราะบางและพิจารณาการช่วยเหลือตามเหมาะสม โดยกระตุ้นให้ชุมชน คิดกลไกการทำงาน ตั้งหลักเกณฑ์ กติกาการช่วยเหลือ ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ชุมชนมีกลไกดูแลคนเปราะบาง ในระยะยาว / งบ 20,000 บาทเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งชุมชนจะทำหน้าที่ในการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆต่อไป เช่น การประสาน รพสต. ปภ. พมจ.
- เป็นการสนับสนุนให้ชุมชนช่วยกันสำรวจข้อมูลแบบมีส่วนร่วม ทั้งปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิด เน้นให้ได้จำนวนกลุ่มเปราะบาง หรือข้อมูลอื่นๆที่ชุมชนต้องการ โดยผ่านการออกแบบสำรวจร่วมกัน
- เป็นการสนับสนุนให้ชุมชนใน 5 จังหวัดเป้าหมาย ได้รับรู้เข้าใจและเข้าถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในรูปแบบต่างๆ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายส่วนหนึ่งไม่รู้หนังสือ / ไม่เข้าใจภาษา / ไม่ได้ติดตามสื่อ อยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะนี้รัฐบาลจะมีการกู้เงินมากกว่า 1 แสนล้านมาทำการฟื้นฟูศก.และสังคม งบประมาณจะลงผ่าน กรม /กระทรวงต่างๆไปสู่พื้นที่ตำบล /จังหวัด เช่น พมจ. พช. เกษตรตำบล ประมงจังหวัด
- เพื่อให้ชุมชนได้พัฒนาสินค้าของตนเอง โดยเฉพาะที่มาจากผลิตผลทางการเกษตร โดยส่งเสริมให้มีการผลิต แปรรูป การบรรจุหีบห่อที่สวยงาม น่าซื้อ รวมทั้งการรวมกลุ่มกันในรูปแบบอื่นๆ เช่น กลุ่มคนจนเมืองรวมกลุ่มแรงานรับเหมาสร้างบ้าน ต่อเติมอาคาร งานช่าง ฯลฯ ซึ่งกระบวนการนี้จะมีการประสานกับผู้เชี่ยวชาญ /สถาบันวิชาการที่มีการเรียนการสอนเรื่องนี้ หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนาชุมชน พอช. พมจ. ฯลฯ
- เพื่อให้ชุมชนมีช่องทางในการขายสินค้าได้มากขึ้น ในหลายๆช่องทาง เช่น การขายออนไลน์ การออกบูธการแสดงสินค้าร่วมกับหน่วยงาน การทำตลาดชุมชนในแต่ละพื้นที่ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมนี้จะมีเยาวชน และผู้หญิงเป็นแกนนหลักในการดำเนินงาน
- เป็นการทำพื้นที่นำร่อง 20 แห่ง ให้ชุมชนปรับรูปแบบการผลิตที่เน้นการสร้างชุมชนสีเขียว การลด ละเลิกการใช้สารเคมี การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ผลิตสิ่งที่กินเหลือขายและแบ่งปัน ลดการพึ่งพาตลาด รวมทั้งการดูแลอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติรอบๆชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน เช่น การทำประมงแบบวิถีชาวเล การอนุบาลสัตว์น้ำในพื้นที่ป่าชายเลน ฯลฯ
- เป็นการสนับสนุนให้ชุมชนมีการเชื่อมโยง ประสานกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เอื้ออาทรดูแลระหว่างกัน เช่น ปลาชาวเลแลกข้าวชาวดอย /ข้าวชาวนา หรือ เกลอเขา- เกลอเล ( เพื่อน)แลกผลไม้ ผัก กับปลาแห้ง กะปิ ฯลฯ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ เช่น โรคระบาด ภัยแล้ง ไฟป่า ฯลฯ ทำให้บางพื้นที่ขาดแคลนอาหาร แต่ในพื้นที่อื่นมีความอุดมสมบูรณ์ โดยการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง /พร้อมหนุนช่วย เช่น กรมการขนส่ง ทหาร ปภ. บริษัทเอกชน ฯลฯ
- เพื่อให้คนรุ่นใหม่ในพื้นที่เป้าหมายได้เกิดการรวมกลุ่มและเสนอแนวคิด /กิจกรรมที่สร้างสรรค์ /อิสระ ในการพัฒนาชุมชน /กลุ่มของตนเอง โดยมีการทำนำร่อง อย่างน้อย 20 กิจกรรม / โครงการ ๆละไม่เกิน 20,000 วิธีการ คือ ให้คนรุ่นใหม่คิดและดำเนินการเอง โดยเสนอความคิดต่อ กลไกในชุมชน เช่น คณะกก.ชุมชน /คณะทำงาน รวมทั้งประสานขอการสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์กรต่างๆ เช่น ท้องถิ่น พมจ. พช. ฯลฯ
- เป็นการพัฒนาศักยภาพทีมอาสาสมัครภัยพิบัติชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจในการทำงานอาสาสมัคร โดยการดำเนินการจะทำในรูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่ /สถานการณ์โรคระบาด เช่น เป็นการอบรม การให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆ การเปิดโอการให้แลกเปลี่ยนกับผู้มีประสบการณ์ หรือการไปศึกษาแลกเปลี่ยนดูงานพื้นที่ต้นแบบที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งนี้มีการประสานกับ ปภ.จังหวัด ท้องถิ่น รพสต. เพื่อให้หน่วยเหล่านี้ได้รู้จักทีมอาสาสมัครคนชายขอบ และมีการทำบัตรประจำตัวอาสาสมัคร เพื่อให้เกิดการยอมรับ
- การสนับสนุนให้ชุมชนชายขอบทำแผนจัดการแบบมีส่วนร่วมหลังจากผ่านการอบรม โดยเป็นแผนรับมือภัยพิบัติที่ครอบคลุมภัยพิบัติในทุกมิติ ทั้งภัยพิบัติธรรมชาติ ภัยโรคระบาด ภัยสังคม ยาเสพติด ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ความปลอดภัยบนถนน น้ำท่วม ภัยแล้ง พายุ ดินโคลนถล่ม ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพพื้นที่ โดยแผนประกอบด้วย 3 ช่วง ช่วงรับมือภัย ช่วงฟื้นฟู และช่วงเตรียมความพร้อม และเน้น ให้ชุมชนมีคู่มือรับมือภัยพิบัติชุมชน ที่ประกอบด้วย สาระสำคัญ เช่น แผนที่กลุ่มเปราะบาง เบอร์โทรฉุกเฉิน เบอร์โทรอาสา สัญญานการแจ้งเตือน พื้นที่หลบภัย ผู้สั่งการเมื่อเกิดเหตุ ฯลฯ แผนจะมีการส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ท้องถิ่น ปภ. รพสต. ฯลฯ
- สนับสนุนให้เกิดกระบวนการถอดบทเรียนร่วมกัน ระหว่างทีมอาสาสมัคร แต่ละจังหวัด เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนางานร่วมกัน รวมทั้งระดมความเห็นเกี่ยวกับนโยบาย ถอดบทเรียน
- เพื่อพัฒนาเป็นคู่มือกลาง ในการจัดการภัยพิบัติ ที่ครบวงจรคำนึงถึงกลุ่มเปราะบาง ทั้งช่วง ก่อนเกิดภัย เมื่อเกิดภัย และการจัดการหลังเกิดภัย
- การจัดทำข้อเสนอต่อระดับนโยบาย โดยใช้ข้อมูลจากการทำงานในพื้นที่ และการระดมความเห็นของกลุ่มเป้าหมาย โดยนโยบายแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ท้องถิ่น จังหวัด และระดับชาติ ซึ่งจะมีการประสานกับนักวิชาการ นักการเมือง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง