เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต
หลังจากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ สึนามิ พบว่าชุมชนในจังหวัดภูเก็ตไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย มีชุมชนแออัดในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 32 ชุมชน ส่วนใหญ่มีปัญหาที่ดิน โดยอาศัยอยู่ในที่ดินของกรมธนารักษ์ กรมเจ้าท่า ป่าชายเลนเสื่อมสภาพ ที่ดินสาธารณะต่างๆ และที่ดินที่มีข้อพิพาทกับเอกชนอีกหลายพื้นที่ ผู้อยู่อาศัยในชุมชนไม่มีทะเบียนบ้าน หรือเป็นทะเบียนบ้านชั่วคราว ทำให้ต้องซื้อน้ำประปา และใช้ไฟฟ้าต่อพ่วงจากที่อื่นในราคาที่สูง หน่วยงานท้องถิ่นไม่สามารถเข้าไปทำการปรับปรุงได้เพราะติดเรื่องที่ดิน ซึ่งในจำนวนนั้นมีชุมชนกลุ่มคนชาติพันธุ์ชาวเลร่วมอยู่ด้วย
เครือข่ายฯได้มีการสำรวจข้อมูลชุมชนร่วมกัน จัดทำแผนที่ทางอากาศ เพื่อเสนอการแก้ปัญหาที่ดิน มีการออมทรัพย์ในทุกชุมชน นอกจากนี้เครือข่ายมีการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง เช่น การปลูกป่า 1 ล้านต้น การกันแนวพื้นที่ชุมชนออกจากพื้นที่ป่าเลนเพื่อไม่ให้มีการบุกรุกเพิ่ม การอนุบาลสัตว์น้ำที่ไม่ได้ขนาด
นอกจากนี้มีการฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรม การแสดงพื้นถิ่นและพิธีกรรมของชาวเล เพื่อรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชนเผ่าและให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม
กรณีการแก้ปัญหาความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ดิน หลังจากได้มีการและมีการลงนามความร่วมมือกับท้องถิ่นเพื่อเสนองบประมาณจากโครงการบ้านมั่นคงมาปรับปรุงที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมของชุมชน จำนวน 15 ชุมชน แต่อย่างไรก็ตามชุมชนเหล่านี้ยังไม่มีสิทธิในที่ดิน จึงมีความพยายามในการเสนอโฉนดชุมชนเพื่อให้เกิดความมั่นคงในที่ดินระยะยาวโดยนำเสนอไปแล้ว 17 ชุมชน แต่ได้รับการพิจารณาเห็นชอบแล้ว 11 ชุมชน
Pages
- « first
- ‹ previous
- 1
- 2
- 3