สานพลังภาคี ก้าวข้ามขีดจำกัด พัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ สุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน

สานพลังภาคี ก้าวข้ามขีดจำกัด ร่วมสร้างภาคใต้แห่งความสุข
ประเด็นการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ สุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน

27 มี.ค.2566 ประชุมคณะทำงานพัฒนาและขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น สุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน ณ ห้องประชุมโรงแรมอ่าวนางวิลล่า รีสอร์ท ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับ มูลนิธิชุมชนไท และภาคีร่วมพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ประเด็น สุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน ประกอบด้วย 

  • เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน
  • เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด (ฝั่งอันดามัน)
  • คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 11-12
  • สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11-12
  • ศูนย์นิติชาติพันธุ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
  • สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พอช.สำนักงานภาคใต้
  • ศูนย์มนุษย์วิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • เครือข่ายเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล 

การประชุมได้ร่วมระดมความเห็น วิเคราะห์สถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และออกแบบวางแผนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เชื่อมโยงและสนับสนุนการดำเนินงานสร้างสุขภาวะของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อให้เกิดกลไกสานพลัง ยกระดับความร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ด้านเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรม และส่งเสริมสุขภาพกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ที่สร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเกิดนโยบายสาธารณะที่ว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล 

จากกระบวนการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมฯ ทำให้มีประเด็นย่อยที่ภาคีเครือข่ายจะร่วมกันขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะฯ ปี 2566 จำนวน 4 ประเด็นย่อย โดยในแต่ละประเด็นย่อย จะมีหน่วยงานภาคีที่จะเป็นแกนนำ/ผู้รับผิดชอบหลัก และมีแผนงานต่อไป ดังนี้

  1. ประเด็น สถานะบุคคล/การเข้าถึงสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพ หน่วยงานภาคีที่รับผิดชอบ ได้แก่ สปสช. และ กสม. โดยมีแผนจัดเวทีรับฟังฯ และยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย วันที่ 7-8 มิ.ย. 2566
  2. ประเด็น นักปกป้องสิทธิชุมชน หน่วยงานภาคีที่รับผิดชอบ ได้แก่ กสม. โดยมีแผนจัดเวทีรับฟังฯ ยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย วันที่ 31 พ.ค.- 1 มิ.ย. 2566
  3. ประเด็น การพัฒนาคุณภาพชีวิต (เด็กเยาวชนเติบโตอย่างสมวัย) หน่วยงานภาคีที่รับผิดชอบ ได้แก่ มรภ. สคล. สมัชชากระบี่,พังงา,ระนอง,สตูล,ภูเก็ต โดยมีแผนจัดเวทีรับฟังฯ ยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย วันที่ 26-27 มิ.ย. 2566 
  4. ประเด็น การคุ้มครองพื้นที่ทางวัฒนธรรม (พื้นที่ทางจิตวิญญาณ/วิถีชีวิตชาวเล/พื้นที่ทำเล) หน่วยงานภาคีที่รับผิดชอบ ได้แก่ มูลนิธิชุมชนไท โดยมีแผนจัดเวทีรับฟังฯ ยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย วันที่ 30-31 ก.ค. 2566

โดยศูนย์นิติชาติพันธุ์มหาวิทยาลัยทักษิณ จะมีบทบาทในการสนับสนุนข้อมูล ทบทวนระเบียบกฎหมายที่มีผลกระทบ ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และสนับสนุนการสร้างนักกฎหมายชาติพันธุ์ ทั้ง 4 ประเด็น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น (Issue Health Assembly : IHA) ในประเด็น "สุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน" ต่อไป ในการสานพลัง ก้าวข้ามขีดจำกัด ร่วมสร้างภาคใต้แห่งความสุข

----------------------