ประชุมแนวทางการฟื้นฟูวิถีชีวิตเศรษฐกิจชุมชน สร้างความมั่นคง กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล

มูลนิธิชุมชนไท ชุมชนชาวเลราไวย์ และโครงการการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ United Nations Development Programme - UNDP  Renaud Meyer UNDP ร่วมกับส่วนราชการท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต ประชุมแนวทางการฟื้นฟูวิถีชีวิตเศรษฐกิจชุมชน สร้างความมั่นคง กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล

11 ม.ค.2564  #มูลนิธิชุมชนไท ชุมชนชาวเลราไวย์ และโครงการการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ United Nations Development Programme - UNDP  Renaud Meyer UNDP ร่วมกับส่วนราชการท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต มี นายอานุภาพ รอดขวัญ ยอดระบำ ปลัดจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในการประชุม 

ในที่ประชุมได้ชี้แจงโครงการ "ฟื้นฟูวิถีชีวิตเศรษฐกิจชุมชน สร้างความมั่นคง กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลราไวย์" ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และการฟื้นคืนสู่สภาพปกติในประเทศไทย ในบริบทของการระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง และปกป้องความคืบหน้าเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจากนี้ไปจะมีการร่วมกำหนดแผนงาน และแนวทาง ในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ ชุมชนราไวย์ ร่วมกับจังหวัด ต่อไป

ด้วย มูลนิธิชุมชนไท เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ทำงานส่งเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชน โดยการสนับสนุน ชุมชนชายขอบ กลุ่มชาติพันธ์ กลุ่มชาวเล กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น ในพื้นที่จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง กระบี่ พังงา ภูเก็ต และสตูล มาอย่างต่อเนื่อง 

สถานการณ์โควิด -19 มูลนิธิชุมชนไท ลงพื้นที่พื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง (คนที่ขาดหลักประกันพื้นฐานทางสังคมในการดำรงชีวิต เข้าไม่ถึงบริการทางสังคม เดิมเรียกว่ากลุ่มด้อยโอกาส เช่น ผู้พิการ/บกพร่องทางสติปัญญา/จิต ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยหมดสติ ผู้มีปัญหาสถานะบุคคล แรงงานข้ามชาติ คนไร้บ้าน ชายขอบ) โดยได้ร่วมมือกับหลายภาคส่วน อาทิเช่น โครงการข้าวชาวนา แลกปลาทะเล การรับส่งของบริจาค เพื่อส่งต่อไปยังพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งทางมูลนิธิฯ ดำเนินการไปแล้วระยะหนึ่ง 

UNDP โดยสำนักประชากรแห่งสหประชาชาติ ได้สนับสนุนงบประมาณ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลราไวย์ ในปี 2564 (ม.ค.-มิ.ย.2564) โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน การแปรรูปอาหารทะเล การผลิต การจำหน่าย การตลาดออนไลด์ รวมไปถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง การทำบ้านปลา เพื่อให้ชุมชนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ในระยะยาว และก้าวพ้นวิกฤติ โควิด-19 ไปได้