ปลาชาวเลราไวย์ มอบด้วยใจให้กะเหรี่ยงบางกลอยบน กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อยู่อาศัยในพื้นที่มาก่อนรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1

ชาวเลชุมชนราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ออกเรือหาปลาในทะเล เพื่อนำปลาสด และนำมาตากแห้ง แล้วจะนำไปส่งให้ชาวกะเหรี่ยงบางกลอย โดยจากกระแสข่าวที่เกิดขึ้น จากที่ชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่เคยอาศัยอยู่หมู่บ้านใจแผ่นดิน ที่เป็นที่อยู่อาศัยมาอย่างยาวนาน

ชาวเลชุมชนราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ออกเรือหาปลาในทะเล เพื่อนำปลาสด และนำมาตากแห้ง แล้วจะนำไปส่งให้ชาวกะเหรี่ยงบางกลอย โดยจากกระแสข่าวที่เกิดขึ้น จากที่ชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่เคยอาศัยอยู่หมู่บ้านใจแผ่นดิน ที่เป็นที่อยู่อาศัยมาอย่างยาวนาน ต่อมา ปี พ.ศ.2554 และมีเจ้าหน้าที่อุทยานแก่งกระจานนำกำลังเข้าไป ทำให้บ้านเรือนและยุ้งข้าวของชาวกะเหรี่ยงบางกลอยถูกเผาทำลาย โดยอ้างว่าชาวกะเหรี่ยงบุกรุกอุทยาน เรื่องนี้จึงนำไปสู่การยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอความเป็นธรรม เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้อาศัยอยู่ในผืนป่ามานานนับร้อยปี และย้ายชาวบ้านออกจากพื้นที่ มาตั้งชุมชนใหม่ นอกเขตพื้นที่อุทยาน มาประมาณ 20 ปี

หนังสือ ใจแผ่นดิน
https://voicefromthais.files.wordpress.com/2019/09/jaipandin-e-book.pdf

สมุดราชบุรี
http://dl.kids-d.org/bitstream/handle/123456789/HASHba5a550eaeef0bbd220b...
(สมุดราชบุรีนี้ เดิมจะจัดพิมพ์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งแห่งหอของมณฑลราชบุรีในการแสดงสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ ในกาลอันเป็นมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสถิตย์ในศิริราชสมบัติเป็นเวลา ๑๕ ปี แต่พระองค์ได้เสด็จสู่สวรรคตงานดังกล่าวจึงต้องหยุดชะงักไป แต่ยังคงดำเนินการจัดพิมพ์สมุดราชบุรีเพื่อจำหน่ายในกาลอันเป็นมงคลสมัยวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของมณฑลราชบุรีในอดีตและปัจจุบัน สภาพภูมิประเทศ ตำนานเมือง วัตถุและโบราณสถาน การประกอบอาชีพ สภาพความเป็นอยู่และประเพณี ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ)
ที่มา : http://dl.kids-d.org/handle/123456789/HASHba5a550eaeef0bbd220b0e

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัส โควิด-19 ทำให้เกิดความยากลำบากในการดำรงชีพ ของชาวกะเหรี่ยงบางกลอยและกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลภาคใต้ของประเทศไทย และชาวกะเหรี่ยง ทางภาคเหนือและชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทย ทั้งส่วนหนึ่งยังเข้าไม่ถึงระบบการเยียวยาจากภาครัฐ จนนำไปสู่การทำปลาแลกข้าว จากชาวเลถึงชาวกะเหรี่ยง

ต่อมา เมื่อการเป็นอยู่ที่ยากลำบากของชาวกะเหรี่ยงที่ไม่สามารถทำกินในที่พื้นที่บ้านบางกลอยล่าง ได้ ทำให้ชาวกะเหรี่ยงบางกลอยจำนวน กว่า 30 ครัวเรือน ต้องอพยพบกลับบ้านใจแผ่นดิน เพื่อกลับไปทำการเกษตรยังถิ่นเดิมของบรรพบุรุษ แต่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแก่งกะจานพยามกีดกันหลายวิธีการ อาทิเช่น การตัดสัญญาณโทรศัพท์ และสัญญาณอินเตอร์เน็ท ทำให้ชาวกะเหรี่ยงไม่สามารถสื่อสารเรื่องราวของตนเองสู่สังคมได้ จนเกิดภาคีร่วมรณรงค์ #Saveบางกลอย เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับชาวกะเหรี่ยงบางกลอย

"กะเหรี่ยงกับชาวเล เหมือนพี่น้องกัน เราชาวเลราไวย์ อยากทำโครงการข้าวแลกปลา เพื่อเอาปลาไปเชื่อมร้อยกับชาวกะเหรี่ยง  และเราอยากเอาปลาแห้งไปให้  และไปเยี่ยมให้กำลังใจ พี่น้องกะเหรี่ยง มูลนิธิชุมชนไท จะช่วยประสานเรา ให้เราได้ไปบางกลอยได้มัย"  นายสนิท แซ่ซั่ว ตัวแทนชาวเลราไวย์  ถามมูลนิธิฯ

ดังนั้นแล้ว ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลทางฝั่งทะเลอันดามัน อันประกอบไปด้วยชาวมอแกน มอแกลน และ ชาวอูรักลาโว้ย เกิดแนวคิดและรวมตัวกันออกเรือหาปลาเพื่อต้องการที่จะทำปลาแห้งส่งมอบให้กับชาวกะเหรี่ยงบางกลอยขึ้น โดยตัวแทนชาวเลจาก ชุมชนราไวย์ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ได้ออกหาปลาสด ประมาณ  500 กิโลกรัม  เพื่อเอามาทำเป็นปลาแห้ง ประมาณ 150 กิโลกรัม เพื่อนำส่งมอบให้ชาวกะเหรี่ยงบางกลอยและร่วมแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตระหว่างกัน

ในการดำเนินการครั้งนี้ชาวเลราไวย์ ชาวเลพังงา จะเป็นตัวแทน ชาวเลในอันดามัน ร่วมกับ พีมูฟ ประมาณ 15 คน ออกเดินทางจากภูเก็ต วันที่ 23 ก.พ.64 เวลาประมาณ 10 .00 น.  จะไปสมทบกับสื่อมวลชน อีกประมาณ 10 คน  รวม 25 คน  

"เราตั้งใจจะไปนอนสัก 1 คืน  ถ้าไม่มีอุปสรรค์อะไร เพราะอยากสัมผัสความรู้สึก และวิถีชีวิต พี่น้องกะเหรี่ยงบางกลอย รวมทั้งจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของคนต่างชาติพันธ์"