กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอูรักลาโว้ย ตามเกาะที่อยู่ห่างจากฝั่ง ความตระหนักในเรื่องราวของตนเอง วันนี้พี่น้องได้ลุกขึ้นมารณรงค์เข้าชื่อเสนอกฎหมายเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ตาม (ร่าง) พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ. .... |
22 ต.ค.2564 กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอูรักลาโว้ย ตามเกาะที่อยู่ห่างจากฝั่ง อย่างเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล ด้วยความตระหนักในเรื่องราวของตนเอง วันนี้พี่น้องได้ลุกขึ้นมารณรงค์เข้าชื่อเสนอกฎหมายเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ตาม (ร่าง) พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ. .... ชาวเลอูรักลาโว้ยที่อาศัยอยู่บนเกาะหลีเป๊ะ เกาะอาดัง เกาะราวี เป็นชนพื้นเมืองที่ดำรงชีวิตตามหมู่เกาะอาดัง-ราวี เมื่อ 300-500 ปีที่ผ่านมา โดยอาศัยอยู่กระจัดกระจายตามเกาะต่าง ๆ เช่น เกาะอาดัง เกาะมูโลน เกาะโกย เป็นต้น จนมาถึงปี พ.ศ.2455 พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ ผู้รับตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดสตูล ได้ให้ชาวเลที่อยู่อาศัยกระจัดกระจายมาอยู่รวมกันอย่างถาวร ซึ่งชาวเลได้ทำมาหากินอยู่บนเกาะโดยเพราะปลูกข้าว มะพร้าว และทำการประมงอยู่จนถึงทุกวันนี้ ต่อมาการดำรงวิถีชีวิตชาวเลเกิดศิลปวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นเฉพาะ มีพื้นที่ทำพิธีกรรม พื้นที่ความเชื่อทางจิตวิญญาณ มีกิจกรรมและประเพณี เช่น พิธีลอยเรือ เป็นต้น โดยได้ปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเอกสารสิทธิ์ในการอยู่อาศัยของชาวเลจะเป็น สค.1 เป็นส่วนใหญ่ ที่ออกในปี 2493 ต่อมาในปี 2517 มีการประกาศพื้นที่เป็นเขตอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติตะรุเตาทับซ้อนพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณ โดยไม่ได้กันพื้นที่ใช้ประโยชน์ของชาวเลออกจากแนวเขตของอุทยานฯ ผนวกกับการขยายตัวของธุรกิจการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ชาวเลประสบปัญหาการรุกรานของเอกชน โดยเอกชนได้นำเอกสาร สค.1 ไปออกเป็นเอกสาร นส.3 แต่ชี้แนวเขตไปทับซ้อนกับที่อยู่อาศัยของชาวเล จึงเกิดเป็นคดีความฟ้องร้องกันเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่เอกชนจะเป็นผู้ฟ้องขับไล่ชาวเล
ชาวเลเกาะหลีเป๊ะมีแนวคิดในการจัดทำโครงการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาวอูรักลาโว้ย เพราะในพื้นที่ชาวเลมีคุณค่าหลายอย่างเพื่อต้องการให้สังคมและต่างชาติได้รู้และมีความเข้าใจถึงวิถีชีวิตของชาวเล เช่น แหล่งโบราณสถาน วิถีชุมชนดั้งเดิม การทำกินบนบกและในทะเล ประเพณี วัฒนธรรม พื้นที่ทางจิตวิญญาณหรือพื้นที่ทำพิธีกรรม เป็นต้น การเกิดขึ้นของพื้นที่ที่มีคุณค่าเหล่านี้ เกิดจากการปฏิบัติที่สืบทอดกันมากกว่าร้อยปี ตั้งแต่บรรพบุรุษที่ได้เข้ามาอยู่ในพื้นที่จนถึงปัจจุบัน ทำให้การแก้ไขปัญหาของชาวเล นอกจากการต่อสู้คดีในชั้นศาลแล้ว ยังนำเสนอความเป็นอัตลักษณ์ของชาวเลตั้งแต่ประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบันต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล และชาวเลยังได้เข้าร่วมการจัดทำให้ที่อยู่อาศัยมีความแข็งแรง สวยงาม โดยเสนอของบประมาณจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ในการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเล ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ SDGs ในข้อ ขจัดความยากจนและการตั้งถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นต้น
ซึ่งส่วนใหญ่ชาวเลจะเป็นผู้ชนะคดีแล้ว การให้ความรู้แก่เยาวชน การปลูกฝังเยาวชนให้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชาวเลตั้งแต่บรรพบุรุษก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญ โดยได้ให้เยาวชนช่วยกันสำรวจและจัดทำข้อมูลครัวเรือนของชาวเลตามกลุ่มต่าง ๆ และจัดทำข้อมูลพื้นที่สำคัญต่าง ๆ และทำแผนที่การอยู่อาศัยของชาวเล เป็นต้น เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้รับรองให้ชุมชนชาวเลเกาะหลีเป๊ะ เป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล เพื่อเข้าถึงการรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีบนฐานเศรษฐกิจเชิงวัฒนธรรม ดังนี้ กระบวนการแก้ไขปัญหาที่สำคัญคือการร่วมกันให้ข้อมูลต่าง ๆ กับหน่วยงานในการผลักดันให้เกิดกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประชาชนร่วมลงชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อนำไปสู่การตั้งกรรมาธิการในการเสนอกฎหมายในลำดับต่อไป
|